ccลับมาเยือนเมืองไทยเป็นครั้งที่สอง หลังจากเคยเดินทางมาเปิดคอนเสิร์ตครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๗สำหรับวงดนตรี “คันทรี-ร็อค” ระดับตำนาน อย่าง “ดิ อีเกิลส์”สมาชิกของอีเกิลส์ที่มาเปิดการแสดงสด ณ อิมแพ็ค อารีนา เมืองทองธานี เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก็คือ สมาชิกชุดที่ร่วมกันออกผลงานล่าสุด “Long Road out of Eden” และเป็นชุดเดียวกับที่เดินทางมาทัวร์เมืองไทยเมื่อ ๗ ปีที่แล้ว
อันประกอบไปด้วย เกลนน์ ฟราย, ดอน เฮนรี่, โจ วอลช์ และ ทิโมธี บี. ชมิท
Moon shining down through the palms
Shadows moving on the sand
Somebody whispering the 23rd Psalm
Dusty rifle in his trembling hands
Somebody trying just to stay alive
He got promises to keep
Over the ocean in America
Far away, the master sleeps
Silent stars blinking in the blackness of an endless sky
Gold, silver satellites, ghostly caravans passing by
Galaxies unfolding and new worlds being born
Pilgrims and prodigals creeping toward the dawn
And it's a long road out of Eden
Music blasting from an SUV
On a bright and sunny day
Rolling down the interstate
In the good old USA
Having lunch at the petroleum club
Smoking fine cigars and swapping lies
They say, "Give me 'nother slice of that barbecued brisket
Give me 'nother piece of that pecan pie"
Freeways flickering; cell phones chiming a tune
We're riding to Utopia; road map says we'll be arriving soon
Captains of the old order clinging to the reins
Assuring us these aches inside are only growing pains
But it's a long road out of Eden
Back home, I was so certain; the path was very clear
But now I have to wonder - what are we doing here?
And I'm not counting on tomorrow and I can't tell wrong from right
But I'd give anything to be there in your arms tonight
Weaving down the American highway
Through the litter and the wreckage, and the cultural junk
Bloated with entitlement, bloated on propaganda
Now we're driving dazed and drunk
Went down the road to Damascus, the road to Mandalay
Met the ghost of Caesar on the Appian Way
He said, "It's hard to stop this binging once you get a taste
But the road to empire is a bloody, stupid waste"
Behold the bitten apple, the power of the tools
But all the knowledge in the world is of no use to fools
And it's a long road out of Eden....
ด้วยวัยที่ล่วงเลยเลข ๖ แม้พลังเสียงของพญาอินทรีทั้ง ๔ คน จะตกลงไปบ้าง แต่ก็ยังพอเอาตัวรอดได้ในฐานะศิลปินนักร้องที่เคยออกสตูดิโอ อัลบั้มแบบเดี่ยวๆ กันมาแล้วทั้งนั้น ส่วนฝีมือดนตรีก็ไม่ต้องพูดถึง เพราะพวกเขาและทีมแบ็คอัพสนับสนุน ต่างโชว์ฝีมือการบรรเลงบทเพลงได้อย่างยอดเยี่ยม หนักแน่น และไพเราะจนกล่าวได้ว่า เสียงดนตรีที่ได้รับฟังจากการแสดงสดที่อิมแพ็คฯ นั้นเนี้ยบพอๆ กับเสียงดนตรีที่เคยได้ยินจากซีดีหรือดีวีดีกันเลยทีเดียว
เมื่อพูดถึงเสียงร้องของลุงๆ ที่ต่างลดพลังกันไปบ้าง ดูเหมือนดอน เฮนรี่ จะยังคงรักษาคุณภาพเสียงร้องของตนเองเอาไว้ได้มากที่สุด และคุณลุงก็สามารถนั่งตีกลองไป ร้องเพลงไป ได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นเคยจนสามารถสะกดอารมณ์คนดูได้อย่างอยู่หมัด ทั้งใน “Hotel California”
“Desperado”
หรือกระทั่งเพลงใหม่ คือ “Waiting in the Weeds”
ขณะที่เพื่อนรัก (หักเหลี่ยมโหดกันบ้างในบางครั้ง) อย่างเกลนน์ ฟราย ก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบนเวทีได้อย่างดี แม้พลังเสียงของเขาดูเหมือนจะด้อยกว่าเฮนรี่นิดๆ แต่ในหลายเพลง เช่น “Lyin’ Eyes” หรือ “Take it to the Limit” (ซึ่งแต่เดิมร้องโดย แรนดี้ ไมส์เนอร์) ฟรายก็ยังเอาแฟนเพลงได้อยู่
ในส่วนฝีมือการเล่นกีต้าร์แล้ว โจ วอลช์ และมือแบ็คอัพ (ซึ่งมีส่วนร่วมอย่างมากในการผลิตผลงานชุดล่าสุดของอีเกิลส์) อย่าง สจ๊วร์ต สมิธ ก็สามารถโซโลกีต้าร์คู่กันในเพลง “Hotel California” ที่ถูกบรรเลงตั้งแต่ช่วงต้นคอนเสิร์ต ได้อย่างยอดเยี่ยมชวนขนลุก อย่างไรก็ตาม คงต้องยอมรับว่าในขณะสมิธ เล่นกีต้าร์เหมือนดังช่างฝีมือระดับประณีต ซึ่งเข้ามาแทนที่การขาดหายไปของ ดอน เฟลเดอร์ ด้วยฐานะมือปืนรับจ้าง อดีตสมาชิกเจมส์ แก๊ง อย่าง โจ วอลช์ กลับมีสำเนียงกีต้าร์ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองมากกว่า
ซึ่งพิสูจน์ได้จากเพลงที่เขาร้องและโซโล่กีต้าร์อย่าง “In the City” “Walk Away” “Life’s Been Good” หรือ “Funk 49” ตลอดจนเพลงอื่นๆ ที่เสียงกีต้าร์ของวอลช์มีบทบาทสำคัญ เช่น “Life in the Fast Lane” เป็นต้น (น่าเสียดายที่วอลช์ไม่ได้นำเทคนิค "ทอล์ค บ็อกซ์" มาโชว์ให้แฟนเพลงชาวไทยได้รับชมรับฟังกันเป็นขวัญตาและขวัญหู)
แต่ที่เรียกเสียงกรี๊ดกร๊าดจากพ่อยกแม่ยกชาวไทยไปได้ดังที่สุด ก็เห็นจะเป็นไชยา มิตรชัย เฮ้ย! ทิโมธี บี. ชมิท มือเบสส์ผมยาวเสียงหวานสูง ซึ่งดูเหมือนจะมีลูกอ่อนโยนขี้อ้อนช่างเอาอกเอาใจมากที่สุดในวง (ดังที่หลายคนเคยบอกเอาไว้ว่าเขาถือเป็นสมาชิกของพญาอินทรีที่อยู่ในโซน “สว่าง” มากที่สุด)
ลุงชมิทเอาคนดูไม่อยู่นักในเพลง “I Don′t Want to Hear Anymore” แต่กลับมาแก้ตัวได้อย่างหมดจดงดงามหวานซึ้งตรึงตรากับ “I Can′t Tell You Why” และ “Love Will Keep Us Alive”
นอกจากเพลงหวานๆ แล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่ชมิทสามารถเอาชนะใจคนดูชาวไทยได้อยู่หมัด ก็เห็นจะเป็น “การไหว้” พร้อมด้วยการพูดภาษาไทยหลายประโยคของเขาทั้ง “ขอบคุณครับ” “สวัสดีครับ” และ “ผมรักคนไทยครับ”
พ้นไปจาก การแสดงสดเข้าขั้นยอดเยี่ยมของอีเกิลส์แล้ว ปฏิกิริยาของคนดูในอิมแพ็ค อารีนา ก็น่าสนใจอยู่มิใช่น้อยเดิมทีในการแสดงคอนเสิร์ตระดับอินเตอร์นั้น การถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ และบันทึกเสียงในฮอลล์คอนเสิร์ต ถือเป็นพฤติกรรมต้องห้ามอย่างเด็ดขาด ผ่านกฎข้อบังคับและการตรวจตราสุดเข้มงวด
แต่เมื่อปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือสามารถกลายเป็นกล้องถ่ายรูปหรือกล้องวิดีโอได้ ส่วนกล้องถ่ายรูปคอมแพ็คขนาดจิ๋วก็ทำงานได้อย่างเปี่ยมประสิทธิภาพรอบด้าน เช่นกัน ข้อห้ามที่ยังคงอยู่ดังกล่าวจึง “ไร้น้ำยา” ไปอย่างสิ้นเชิง
เมื่อคนดูต่างพร้อมใจกันบันทึกโมงยามแห่งความทรงจำ ทั้งที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง ลงไปในโทรศัพท์และกล้องของตนเองถึงจะมีเจ้าหน้าที่มาห้ามคนดูถ่ายรูปถ่ายวิดีโออยู่บ้างในช่วงครึ่งแรกของการแสดง แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่มีฤทธานุภาพมากพอที่จะห้ามปรามคนมีกล้องหรือโทรศัพท์นับหมื่นรายในอิมแพ็คฯ ได้ สุดท้าย ผู้จัดคอนเสิร์ตจึงพยายามแก้เกมด้วยการโชว์ป้ายระหว่างพักครึ่งการแสดงว่า ห้ามใช้แฟลช (แสดงว่ายอมผ่อนปรนให้ถ่ายรูปได้) ห้ามถ่ายวิดีโอ และห้ามบันทึกเสียง
แต่ข้อห้ามเหล่านั้นก็ยังคงถูกละเมิดต่อไปจนกระทั่งคอนเสิร์ตปิดฉากลง
จริงๆ แล้ว ก็น่าตั้งคำถามกับคนดูบางรายที่พยายามบันทึกภาพการแสดงคอนเสิร์ตไว้ตลอดเวลากว่า 3 ชั่วโมงเหมือนกันว่า ตกลง พวกคุณตั้งใจจะมาดูการแสดงผ่านจอภาพเล็กๆ บนกล้องหรือโทรศัพท์ของตนเอง แทนที่จะนั่งชมการแสดงสดซึ่งดำเนินไปบนเวทีใหญ่หรืออย่างไร?
(บางที พฤติกรรมการชมคอนเสิร์ตที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้อาจต้องถูกศึกษาโดยศูนย์มานุษยาวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ส่วนคลิปภาพต่างๆ ในคอนเสิร์ตที่ถูกผู้ชมบันทึกไว้อย่างมากมายมหาศาล ก็น่าจะถูกนำไปบริจาคให้หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เพื่อจัดฉายในฐานะ “หนังบ้าน” ต่อไป สำหรับตัวคนดูนักบันทึกภาพทั้งหลาย –โดยเฉพาะในคอนเสิร์ตอีเกิลส์- แล้ว ไม่รู้ว่าจะต้องนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ไหนดี อิอิอิ)
สุดท้ายเมื่อพญาอินทรีทั้งสี่คนและทีมงานนักดนตรีก้าวอำลาลงจากเวทีอย่างสมบูรณ์
คนดูหลายรายก็เริ่มตั้งคำถามถึงเพลงเพลงหนึ่งที่หายไป
ฝรั่งที่เข้ามาชมคอนเสิร์ตผู้หนึ่งถึงกับเอ่ยปากขึ้นด้วยความงุนงงสงสัยปนขุ่นเคืองใจว่า “Where is Tequila Sunrise?”
Take nother shot of courage / Wonder why the right words never come / You just get numb / It′s another tequila sunrise / This old world still looks the same / Another frame, mm...”
แล้วฉับพลันก็คิดขึ้นมาในใจได้ว่า สงสัยเพลงนี้มันจะหลุดหายไปตอนเปลี่ยน “กรอบ” กระมัง?
ขอบคุณบทความในมติชนออนไลน์ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ที่เขียนได้จับใจจนขอบันทึกไว้ในสมุดไดอรีของเรา (ลอกเขามาเก็บ)
อันประกอบไปด้วย เกลนน์ ฟราย, ดอน เฮนรี่, โจ วอลช์ และ ทิโมธี บี. ชมิท
Moon shining down through the palms
Shadows moving on the sand
Somebody whispering the 23rd Psalm
Dusty rifle in his trembling hands
Somebody trying just to stay alive
He got promises to keep
Over the ocean in America
Far away, the master sleeps
Silent stars blinking in the blackness of an endless sky
Gold, silver satellites, ghostly caravans passing by
Galaxies unfolding and new worlds being born
Pilgrims and prodigals creeping toward the dawn
And it's a long road out of Eden
Music blasting from an SUV
On a bright and sunny day
Rolling down the interstate
In the good old USA
Having lunch at the petroleum club
Smoking fine cigars and swapping lies
They say, "Give me 'nother slice of that barbecued brisket
Give me 'nother piece of that pecan pie"
Freeways flickering; cell phones chiming a tune
We're riding to Utopia; road map says we'll be arriving soon
Captains of the old order clinging to the reins
Assuring us these aches inside are only growing pains
But it's a long road out of Eden
Back home, I was so certain; the path was very clear
But now I have to wonder - what are we doing here?
And I'm not counting on tomorrow and I can't tell wrong from right
But I'd give anything to be there in your arms tonight
Weaving down the American highway
Through the litter and the wreckage, and the cultural junk
Bloated with entitlement, bloated on propaganda
Now we're driving dazed and drunk
Went down the road to Damascus, the road to Mandalay
Met the ghost of Caesar on the Appian Way
He said, "It's hard to stop this binging once you get a taste
But the road to empire is a bloody, stupid waste"
Behold the bitten apple, the power of the tools
But all the knowledge in the world is of no use to fools
And it's a long road out of Eden....
ด้วยวัยที่ล่วงเลยเลข ๖ แม้พลังเสียงของพญาอินทรีทั้ง ๔ คน จะตกลงไปบ้าง แต่ก็ยังพอเอาตัวรอดได้ในฐานะศิลปินนักร้องที่เคยออกสตูดิโอ อัลบั้มแบบเดี่ยวๆ กันมาแล้วทั้งนั้น ส่วนฝีมือดนตรีก็ไม่ต้องพูดถึง เพราะพวกเขาและทีมแบ็คอัพสนับสนุน ต่างโชว์ฝีมือการบรรเลงบทเพลงได้อย่างยอดเยี่ยม หนักแน่น และไพเราะจนกล่าวได้ว่า เสียงดนตรีที่ได้รับฟังจากการแสดงสดที่อิมแพ็คฯ นั้นเนี้ยบพอๆ กับเสียงดนตรีที่เคยได้ยินจากซีดีหรือดีวีดีกันเลยทีเดียว
เมื่อพูดถึงเสียงร้องของลุงๆ ที่ต่างลดพลังกันไปบ้าง ดูเหมือนดอน เฮนรี่ จะยังคงรักษาคุณภาพเสียงร้องของตนเองเอาไว้ได้มากที่สุด และคุณลุงก็สามารถนั่งตีกลองไป ร้องเพลงไป ได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นเคยจนสามารถสะกดอารมณ์คนดูได้อย่างอยู่หมัด ทั้งใน “Hotel California”
“Desperado”
หรือกระทั่งเพลงใหม่ คือ “Waiting in the Weeds”
ขณะที่เพื่อนรัก (หักเหลี่ยมโหดกันบ้างในบางครั้ง) อย่างเกลนน์ ฟราย ก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบนเวทีได้อย่างดี แม้พลังเสียงของเขาดูเหมือนจะด้อยกว่าเฮนรี่นิดๆ แต่ในหลายเพลง เช่น “Lyin’ Eyes” หรือ “Take it to the Limit” (ซึ่งแต่เดิมร้องโดย แรนดี้ ไมส์เนอร์) ฟรายก็ยังเอาแฟนเพลงได้อยู่
ในส่วนฝีมือการเล่นกีต้าร์แล้ว โจ วอลช์ และมือแบ็คอัพ (ซึ่งมีส่วนร่วมอย่างมากในการผลิตผลงานชุดล่าสุดของอีเกิลส์) อย่าง สจ๊วร์ต สมิธ ก็สามารถโซโลกีต้าร์คู่กันในเพลง “Hotel California” ที่ถูกบรรเลงตั้งแต่ช่วงต้นคอนเสิร์ต ได้อย่างยอดเยี่ยมชวนขนลุก อย่างไรก็ตาม คงต้องยอมรับว่าในขณะสมิธ เล่นกีต้าร์เหมือนดังช่างฝีมือระดับประณีต ซึ่งเข้ามาแทนที่การขาดหายไปของ ดอน เฟลเดอร์ ด้วยฐานะมือปืนรับจ้าง อดีตสมาชิกเจมส์ แก๊ง อย่าง โจ วอลช์ กลับมีสำเนียงกีต้าร์ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองมากกว่า
ซึ่งพิสูจน์ได้จากเพลงที่เขาร้องและโซโล่กีต้าร์อย่าง “In the City” “Walk Away” “Life’s Been Good” หรือ “Funk 49” ตลอดจนเพลงอื่นๆ ที่เสียงกีต้าร์ของวอลช์มีบทบาทสำคัญ เช่น “Life in the Fast Lane” เป็นต้น (น่าเสียดายที่วอลช์ไม่ได้นำเทคนิค "ทอล์ค บ็อกซ์" มาโชว์ให้แฟนเพลงชาวไทยได้รับชมรับฟังกันเป็นขวัญตาและขวัญหู)
แต่ที่เรียกเสียงกรี๊ดกร๊าดจากพ่อยกแม่ยกชาวไทยไปได้ดังที่สุด ก็เห็นจะเป็นไชยา มิตรชัย เฮ้ย! ทิโมธี บี. ชมิท มือเบสส์ผมยาวเสียงหวานสูง ซึ่งดูเหมือนจะมีลูกอ่อนโยนขี้อ้อนช่างเอาอกเอาใจมากที่สุดในวง (ดังที่หลายคนเคยบอกเอาไว้ว่าเขาถือเป็นสมาชิกของพญาอินทรีที่อยู่ในโซน “สว่าง” มากที่สุด)
ลุงชมิทเอาคนดูไม่อยู่นักในเพลง “I Don′t Want to Hear Anymore” แต่กลับมาแก้ตัวได้อย่างหมดจดงดงามหวานซึ้งตรึงตรากับ “I Can′t Tell You Why” และ “Love Will Keep Us Alive”
นอกจากเพลงหวานๆ แล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่ชมิทสามารถเอาชนะใจคนดูชาวไทยได้อยู่หมัด ก็เห็นจะเป็น “การไหว้” พร้อมด้วยการพูดภาษาไทยหลายประโยคของเขาทั้ง “ขอบคุณครับ” “สวัสดีครับ” และ “ผมรักคนไทยครับ”
พ้นไปจาก การแสดงสดเข้าขั้นยอดเยี่ยมของอีเกิลส์แล้ว ปฏิกิริยาของคนดูในอิมแพ็ค อารีนา ก็น่าสนใจอยู่มิใช่น้อยเดิมทีในการแสดงคอนเสิร์ตระดับอินเตอร์นั้น การถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ และบันทึกเสียงในฮอลล์คอนเสิร์ต ถือเป็นพฤติกรรมต้องห้ามอย่างเด็ดขาด ผ่านกฎข้อบังคับและการตรวจตราสุดเข้มงวด
แต่เมื่อปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือสามารถกลายเป็นกล้องถ่ายรูปหรือกล้องวิดีโอได้ ส่วนกล้องถ่ายรูปคอมแพ็คขนาดจิ๋วก็ทำงานได้อย่างเปี่ยมประสิทธิภาพรอบด้าน เช่นกัน ข้อห้ามที่ยังคงอยู่ดังกล่าวจึง “ไร้น้ำยา” ไปอย่างสิ้นเชิง
เมื่อคนดูต่างพร้อมใจกันบันทึกโมงยามแห่งความทรงจำ ทั้งที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง ลงไปในโทรศัพท์และกล้องของตนเองถึงจะมีเจ้าหน้าที่มาห้ามคนดูถ่ายรูปถ่ายวิดีโออยู่บ้างในช่วงครึ่งแรกของการแสดง แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่มีฤทธานุภาพมากพอที่จะห้ามปรามคนมีกล้องหรือโทรศัพท์นับหมื่นรายในอิมแพ็คฯ ได้ สุดท้าย ผู้จัดคอนเสิร์ตจึงพยายามแก้เกมด้วยการโชว์ป้ายระหว่างพักครึ่งการแสดงว่า ห้ามใช้แฟลช (แสดงว่ายอมผ่อนปรนให้ถ่ายรูปได้) ห้ามถ่ายวิดีโอ และห้ามบันทึกเสียง
แต่ข้อห้ามเหล่านั้นก็ยังคงถูกละเมิดต่อไปจนกระทั่งคอนเสิร์ตปิดฉากลง
จริงๆ แล้ว ก็น่าตั้งคำถามกับคนดูบางรายที่พยายามบันทึกภาพการแสดงคอนเสิร์ตไว้ตลอดเวลากว่า 3 ชั่วโมงเหมือนกันว่า ตกลง พวกคุณตั้งใจจะมาดูการแสดงผ่านจอภาพเล็กๆ บนกล้องหรือโทรศัพท์ของตนเอง แทนที่จะนั่งชมการแสดงสดซึ่งดำเนินไปบนเวทีใหญ่หรืออย่างไร?
(บางที พฤติกรรมการชมคอนเสิร์ตที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้อาจต้องถูกศึกษาโดยศูนย์มานุษยาวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ส่วนคลิปภาพต่างๆ ในคอนเสิร์ตที่ถูกผู้ชมบันทึกไว้อย่างมากมายมหาศาล ก็น่าจะถูกนำไปบริจาคให้หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เพื่อจัดฉายในฐานะ “หนังบ้าน” ต่อไป สำหรับตัวคนดูนักบันทึกภาพทั้งหลาย –โดยเฉพาะในคอนเสิร์ตอีเกิลส์- แล้ว ไม่รู้ว่าจะต้องนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ไหนดี อิอิอิ)
สุดท้ายเมื่อพญาอินทรีทั้งสี่คนและทีมงานนักดนตรีก้าวอำลาลงจากเวทีอย่างสมบูรณ์
คนดูหลายรายก็เริ่มตั้งคำถามถึงเพลงเพลงหนึ่งที่หายไป
ฝรั่งที่เข้ามาชมคอนเสิร์ตผู้หนึ่งถึงกับเอ่ยปากขึ้นด้วยความงุนงงสงสัยปนขุ่นเคืองใจว่า “Where is Tequila Sunrise?”
Take nother shot of courage / Wonder why the right words never come / You just get numb / It′s another tequila sunrise / This old world still looks the same / Another frame, mm...”
แล้วฉับพลันก็คิดขึ้นมาในใจได้ว่า สงสัยเพลงนี้มันจะหลุดหายไปตอนเปลี่ยน “กรอบ” กระมัง?
ขอบคุณบทความในมติชนออนไลน์ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ที่เขียนได้จับใจจนขอบันทึกไว้ในสมุดไดอรีของเรา (ลอกเขามาเก็บ)